Jump to content

Folktales from the Mon People of Koh Kred/คำนำ (Introduction)

From Wikibooks, open books for an open world

คำนำ (Introduction)

[edit | edit source]

นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องที่เล่ากันมา หรือ เรื่องเดิมที่มีอยู่ หากเปิดดูความหมายของคำว่า นิทานจากพจนานุกรมจะพบว่า คำว่านิทานนั้นหมายถึง เรื่องที่เล่าสืบกันมาปากต่อปาก นิทานพื้นบ้านจึงหมายถึงเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาของชาวบ้านนั่นเอง ภาษาอังกฤษนั้นเขาใช้คำว่า Folktale หรือ Folklore

เนื่องจากเป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา นิทานพื้นบ้านจึงมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับผู้เล่า นิทานพื้นบ้านหลายเรื่องได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาเขียน ปัจจุบัน มีนิทานพื้นบ้านเป็นจำนวนมากที่ถูกนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนทางอินเตอร์เน็ต

What is a folktale? If you look up the word in a dictionary, you will know that a folktale is defined as ‘a story’ passed on by word of mouth rather than by writing. Because it has been told from one generation to the next, the folktale has been partly modified by different storytellers. Many folktales have been written down. There are books of folktales. Some folktales are even available on the Internet.

นิทานพื้นบ้าน มีความหมายรวมถึง ตำนาน นิทานสุภาษิต นิทานอีสป (Aesop’s fables) รวมไปถึงเรื่องขำขัน (jokes) นิทานบางเรื่องบอกเล่าถึงตัวละครที่เกิดจากจินตนาการ รวมถึงบรรดาสัตว์ในเทพนิยาย

The term ‘folktale’ refers to many different kinds of stories, for example, legends, fables, jokes, and fairy tales. Many folktales involve mythical creatures and magical transformations.

ทุกวัฒนธรรมมีเรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่น ไม่ว่าจะเป็นตำนาน นิยายปรัมปรา หรือ นิทาน ผู้อาวุโส นักบวช พ่อแม่ มักเล่าให้เด็กๆฟัง เมื่อเด็กๆเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็บอกเล่าต่อให้ลูกหลานฟัง ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ การบอกเล่าเรื่องราวทั้งหลายทั้งมวลนั้น

In every culture, there are always stories told from one generation to the next, whether they are fiction, non-fiction, myths, or folk tales. We tend to tell them to our children and they too, pass it on to their children. However, what’s important is that each of them has its purposes. and one of those is to

ชาวมอญที่อาศัยอยู่บนเกาะเกร็ดนั้น มีนิทานพื้นบ้านเช่นกัน มีเรื่องราวที่บอกเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน นิทานพื้นบ้านยังได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นช่องทางการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมให้กับชนรุ่นหลัง

Like other cultures, the Mon of Ko Kred have been telling their stories for centuries. They have their own folktales, stories passed on down from generations before. Their stories give us moral lessons. They also give us new perspectives. The reason why they carry these folk tales is because in every one of those tales there is a moral to the story, almost like a good lesson to learn from.

หนังสือ นิทานมอญแห่งเกาะเกร็ดนี้ ได้รวบรวมจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโส และปราชญ์ชาวบ้าน

In this book I am going to tell five folktales that the Mon people passed on from one generation to the next. I went to Ko Kret and talked to five Mon elders. They kindly told me their stories. The stories, you soon will see, are delightful to read. They also have meaningful values behind them.

ประโยชน์ของการอ่านนิทานพื้นบ้านนั้นมีมากมาย นักการศึกษาทางภาษาชื่อ รูธ วานริบ (Ruth Wajnryb) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสอนบรรดานิทานพื้นบ้าน หรือเรื่องเล่าต่างๆ ให้กับนักเรียนเอาไว้อย่างน่าฟังว่า

คุณค่าของการใช้เรื่องเล่า เช่นนิทานพื้นบ้าน หรือตำนาน ในการศึกษานั้นมีมากกว่าการให้ความบันเทิง เรื่องเล่าที่ดีนั้นให้ได้ทั้ง ความรู้ ความคิด และจินตนาการ อีกทั้งยังสามารถยกระดับจิตวิญญาณของผู้เรียนได้อีกด้วย การเรียนโดยใช้เรื่องเล่านั้นมีส่วนในการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และศีลธรรมของผู้เรียน คุณค่าของเรื่องเล่านั้น อาจกล่าวได้ว่ามีความวิเศษยิ่ง กล่าวคือสามารถสร้างเสริมประสบการณ์อันไร้ขีดจำกัดได้ ไม่ว่าจะเป็น ขีดจำกัดทางด้าน เวลา ภาษา ชาติพันธ์ ชนชั้น หรือแม้กระทั่ง เพศ

The value of stories, however, goes beyond the entertainment they offer. Beyond the immediate pleasures of exposure to stories, the uplifting, exciting, moving or thought-provoking qualities of a good story contribute to an educated person’s intellectual, emotional and moral development. The effect of a story – one might say, its ‘magic’ – is to offer an infinite well of vicarious experience with the capacity to transport the reader/hearer beyond all boundaries of time, space, language, ethnicity, class or gender.

(Wajnryb:4)

อเลกซานเดอร์ ไชตอฟ (Alexander Shytov) เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้กล่าวถึงคุณค่าของนิทานพื้นบ้าน ท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า

นิทานพื้นบ้านและรูปแบบอื่นๆของภูมิปัญญาชาวบ้านคือรากเหง้าของความรู้เกี่ยวกับศีลธรรมของชุมชน นิทานทั้งหลายบอกให้คนในสังคมทราบถึงมาตรฐานทางศีลธรรมของสังคมนั้นๆ อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรเหมาะสม อะไรสมควรได้รับการตำหนิ นิทานพื้นบ้านเป็นเครื่องมือในการปลูกฝัง ชักจูง และตักเตือนให้คนในสังคมมีพฤติกรรมและความเชื่อไปในทิศทางหนึ่งทิศทางใด

Folktales and other forms of folk wisdom are a rich source of moral ideas of a community which is their creator. They are not just mere stories. They contain the standards of what is good and what is wrong. The folktales teach, encourage, warn, and call the listeners to adopt a particular type of social behavior.

(Shytov: 8)

หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาสองภาษา คือ ภาษาไทย และ อังกฤษ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านคงจะได้รับประโยชน์จากากรอ่านบ้าง ไม่มากก็น้อย

This compilation was written in two languages: Thai and English. It is hoped that the reader, more or less, benefit from reading this book.